Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: - โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่บังคับเอกโท และคำสุภาพไว้ ๔ จุด (ดังแสดงในผัง) ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงปัจจุบัน โคลงที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยรสคำและรสความ ดังที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงอธิบายไว้ว่า
โคลงดีดีด้วยรจ........นานัย ไฉนนอ ต้องจิตติดหฤทัย...........เทิดถ้วน ไพเราะรสคำไพ............เราะรส ความเฮย สองรสพจนล้วน............ทิพย์ล้ำจำรูญ ฯ
หลาย ๆ คนล้วนคุ้นเคยและเขียนโคลงสี่สุภาพได้แล้ว ว่าแล้วเรามาลองมาทบทวนกันดีกว่า
ในที่นี้ขอแบ่งเป็นสองหมวด คือ
๑. หมวดข้อบังคับ คลิก ๒. หมวดกลเม็ดเทคนิคเสริม คลิก
โคลงสี่สุภาพ - บทหนึ่งมี ๓๐ คำเป็นหลัก (อันยังไม่นับรวม "สร้อยโคลง" ที่เพิ่มได้อีกสองแห่ง แห่งละสองคำในท้ายบาทที่ ๑ และท้ายบาทที่ ๓) โคลงสี่สุภาพใน ๑ บท ประกอบด้วยสี่บาท แต่ละบาทประกอบด้วยสองวรรค คือวรรคหน้า ๕ คำ และวรรคหลัง ๒ คำ (ยกเว้นบาทที่สี่ ซึ่งวรรคหลังมี ๔ คำ)
การนับคำในโคลง - การนับคำในโคลงนั้น นับตามเสียงพยางค์ที่เปล่งออกมาหนึ่งครั้งต่อหนึ่งคำ แต่ว่าหากคำใดที่ประกอบด้วยคำที่เป็นลหุแท้ เช่น สวรรค์ พินิจ กุสุม เกษม วิหค ฯลฯ นั้น ผู้ประพันธ์สามารถนับได้ให้เป็น ๑ คำ หรือ ๒ คำก็ได้ แล้วแต่เจตนาของผู้เขียน แต่หากเป็นลหุลอย เช่น จะ มิ เพราะ และ เตะ ฯลฯ จะนับเป็น ๑ คำเท่านั้น
อนึ่ง คำว่า "คำสุภาพ" ในระบบคำประพันธ์ประเภทกลอน โคลง นั้น หมายถึง "คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ" นั่นเอง และในการแต่งโคลงสี่สุภาพนั้น มีจุดบังคับต้องใช้คำสุภาพอยู่ ๔ แห่ง คือ คำที่ ๗ ในบาทแรก ,คำที่ ๕ ในบาทที่สองและบาทที่สาม และ คำที่ ๙ ในบาทที่สี่ นั่นเอง (ดังแสดงไว้ในผัง) โดยคำสุดท้ายหรือคำจบของโคลง ให้ใช้เสียงสามัญหรือเสียงจัตวา เพราะเวลาขับทำนองจริงจะต้องเอื้อนลากเสียงยาวตรงจุดนี้
กระทู้ที่เกี่ยวข้อง - โคลงกระทู้ คลิก - โคลงสองสุภาพ คลิก - โคลงสามสุภาพ คลิก - กาพย์ยานี ๑๑ : วรรณศิลป์อันงดงามในความเรียบง่าย คลิก
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, กวีชาวบ้าน, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, เนื้อนาง นิชานาถ, ปลาย อักษร, , ลมหนาว ในสายหมอก, รินดาวดี, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), มยุเรศ เมรี, ปอละเตียง, Mr.music, โดเรม่อน, มนชิดา พานิช, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๑. การแต่งโคลงสี่สุภาพ
๑.๑ สัมผัสบังคับภายในบท
การสัมผัสในบทของโคลงสี่สุภาพนั้น มีจุดบังคับรับ-ส่ง สัมผัสสระภายในบท ตามตำแหน่งที่โยงเส้นดังแสดงไว้ในผัง คือ
- คำสุดท้ายของบาทแรก (คำที่ ๗) ให้ส่งสัมผัสสระไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่สอง และบาทที่สาม - คำสุดท้ายของบาทสอง (คำที่ ๗) ส่งสัมผัสสระไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่สี่
ดังที่ในตำราจินดามณีได้กล่าวไว้ว่า
ให้ปลายบาทเอกนั้น........มาฟัด ห้าที่บทสองวัจน์...................ชอบพร้อง บทสามดุจเดียวทัด...............ในที่ เบญจนา ปลายแห่งบทสองต้อง............ที่ห้าบทหลัง ฯ
โคลง ไม่มีบังคับในเรื่องสัมผัสใน หรือสัมผัสสระภายในบาท จะมีหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ผู้เขียน
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), เนื้อนาง นิชานาถ, มยุเรศ เมรี, ลมหนาว ในสายหมอก, โดเรม่อน, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๑.๒ คำเอก คำโท
ในหนึ่งบทของโคลงสี่สุภาพนั้น มีการกำหนดบังคับใช้คำรูปวรรณยุกต์เอกไว้ ๗ แห่ง และโท ๔ แห่งอย่างเคร่งครัด ดังผังข้างต้น ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่ใช้เอก ๗ แห่งและโท ๔ แห่งได้ตรงตามรูปแบบที่ยึดถือเป็นแม่แบบมาแต่อดีตนับถึงปัจจุบัน นั้นคือ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง......อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร.............ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับไหล..............ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า...................อย่าได้ถามเผือ ฯ (ลิลิตพระลอ)
จากมามาลิ่วล้ำ............ลำบาง บางยี่เรือราพลาง................พี่พร้อง เรือแผงช่วยพานาง.............เมียงม่าน มานา บางบ่รับคำคล้อง................คล่าวน้ำตาคลอ ฯ (นิราศนรินทร์)
อนึ่ง ตำแหน่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอก ๗ แห่งนั้น สามารถใช้ "คำตาย" แทนได้ (คำตาย คือ คำที่ใช้สระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น เกาะ มิ ชะ มุ และ คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด (กบด) เช่น ลูก กาบ มิตร เป็นต้น ) แต่ตำแหน่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์โท ๔ แห่งนั้น แทนด้วยอะไร ไม่ได้ทั้งสิ้น ต้องใช้รูปโทเท่านั้น ดังกล่าวไว้ในตำราจินดามณีว่า
เอกเจ็ดหายากแท้...........สุดแสน เข็ญเอย เอาอักษรตายแทน.................เทียบได้ โทสี่ประหยัดแหน..................หวงเปลี่ยน ห่อนจักหาอื่นใช้....................ต่างนั้นไป่มี ฯ (จินดามณี)
ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ที่เหลือ ๑๙ แห่ง (เว้นสี่จุดที่บังคับคำสุภาพ) จะใช้รูปใด ๆ ก็ได้ มีรูปวรรณยุกต์ใด ๆ ก็ไม่ถือว่าผิด (แต่หากได้คำสุภาพทั้งหมดจะถือว่างดงาม อันเป็นการแสดงถึงความเพียรในการสรรคำของผู้เขียน หากใช้คำที่มีรูปเอก รูปโทเยอะเกินไป อาจถือว่าเป็นการ "รกเอก" "รกโท" คือดูไม่งามตานั่นเอง ไม่เกี่ยวกับความไพเราะหรือไม่ไพเราะ)
ตัวอย่างการใช้ "คำตาย" แทนตำแหน่งรูปวรรณยุกต์เอกในงานวรรณกรรม เช่น
เมืองเพชรเขาเพชรแพร้ว.....พรายฉาย เฉกนุชนาดกรกราย..................นพเก้า แสงเพชรพิศอับอาย.................แหวนนุช พี่เอย ยอดและยอดรุ่งเร้า...................รอบก้อยกรสมร ฯ (นิราศนรินทร์)
ดาษโคมเวหาสห้อง.............หาวไสว ประดับรัตนนาวาชัย..................เฉิดฟ้า ทั้งสามศุภพิไล.........................แลเลิศ แล้วแฮ เพ็ญพระยศเจ้าหล้า..................โลกเพี้ยงพิศวง ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
เห็นโศกเพิ่มโศกท้าว............กลอยนาง พลางพระโลมนุชพลาง..............ปลอบน้อง อย่าโศกจะเปนลาง....................ในพฤกษ์ ไพรนา ดับทุกข์ดับเทวษข้อง..................ขุ่นแค้นเสียโฉม ฯ (ลิลิตพระลอ)
** ด้วยการบังคับตำแหน่งรูปเอก-โท ไว้ทุกบาทเช่นนี้ในโคลง ก็เพื่อทำให้โคลงเกิดน้ำหนักเสียงที่แตกต่างลงตัวนั่นเอง ทำให้เกิดเสียงเอก โท ตรี โยนสลับกันไปอย่างมีระดับ ฉะนั้น ผู้เขียนโคลงควรดึงจุดนี้ออกมาใช้เพื่อสร้างเสน่ห์ให้โคลงให้ได้สำเร็จ มิใช่เพียงเขียนไปตามรูปแบบเท่านั้น
เพิ่มเติม : กล่าวกันว่า คำที่ใช้ สระ อำ (-ำ) สามารถใช้เป็นคำลหุในฉันท์และคำตายคำเอกในโคลงได้เช่นกัน แต่ว่าสระ อำ ที่จะใช้แทนได้นั้น มิใช่คำที่ใช้สระอำทุกคำจะใช้แทนได้หมด คำที่ใช้แทนได้นั้น ต้องไม่ใช่คำไทยแท้ ต้องเป็นคำแผลงหรือคำจากภาษาต่างชาติเท่านั้น เช่น เขมร หรือ บาลี สันสกฤต จึงจะใช้แทนได้
เช่นคำว่า กำเนิด (แผลงมาจาก เกิด) ดำเนิน (แผลงมาจาก เดิน) ตำรวจ (แผลงมาจาก ตรวจ) จำเนียร (แผลงมาจาก เจียร) ชำนาญ (แผลงมาจาก ชาญ) ทำนูล (แผลงมาจาก ทูล) เป็นต้น สังเกตุว่า คำเหล่านี้ เป็นคำมูลที่มีความหมายในตัว และมักจะเป็นคำคู่ เสียง อำ จะอยู่ด้านหน้า ไม่สามารถแยกคำได้ ถ้าแยกออกมาแต่ละคำจะไม่มีความหมาย หรือถ้ามีความหมายก็จะเป็นคนละทิศละทางกับคำที่แผลงทันที ซึ่งคำสระ อำ เหล่านี้ ใช้แทน ลหุ ในฉันท์ หรือคำตายคำเอกในโคลงได้ เพราะคำแผลงเหล่านี้เวลาออกเสียง เราจะออกเสียงคำที่เป็นสระ อำ คำแรกเพียงนิดนึง แล้วไปเน้นหนักที่คำท้ายแทน (หากใช้ ไม่ควรใช้ในตำแหน่งที่ต้องฉีกคำ ให้ใช้ในตำแหน่งที่คำอยู่รวมกันปกติ เพื่อไม่ให้เสียงกลาย) เช่น
๏ ศรเนตรเสียบเนตรค้น คมขัน ศรสำเนียงตรึงกรรณ ส่งซ้ำ ศรโฉมแม่ยิงยัน ยายาก ต้องผู้ใดอกช้ำ เฉกท้าวสาดศร ฯ (โคลงนิราศพระพุทธบาท)
๏ สองถึงสองกราบไหว้ บทมาลย์ เชิญบพิตรภูบาล อยู่เกล้า ยังรมยพิมานสถาน ประพาส พระเอย เรือนสำราญน้องเหน้า ท่านไท้ทั้งสอง ฯ (ลิลิตพระลอ)
๏ ถึงวัดดอกไม้พี่ หอมหา หอมกลิ่นกลอยมาลา รื่นเร้า รวยรวยรำเพยพา พูนสวาท กลกลิ่นรสคนธ์เจ้า พี่ต้องติดใจ ฯ (โคลงนิราศชุมพร)
ต่างจากสระ อำ ที่เป็นคำของไทยแท้ ที่เป็นคำเดี่ยว ๆ ซึ่งใช้แทนคำลหุหรือคำตาย (แทนคำเอก) ไม่ได้ เช่น กำ ดำ น้ำ รำ จ้ำ เป็นต้น คำไทยเหล่านี้จะมีความหมายในตัวเอง หรือที่เป็นคำประสม เช่น "รำวง" ที่สามารถแยกคำได้ คือ "รำ" กับ "วง" เมื่อแยกออกมาก็ยังมีความหมายใกล้เคียงกับคำเดิมเมื่อตอนประสมคำ ความหมายไม่ห่างไกลกับคำ รำวง เท่าไหร่ หรือคำว่า "ดำนา" เมื่อแยกคำออกมาเป็น "ดำ" และ "นา" แต่ละคำก็มีความหมายที่ไม่ห่างไกลจากคำเดิมนัก หรือคำว่า "กินน้ำ" เมื่อแยกคำออกมาเป็น "กิน" และ "น้ำ" แต่ละคำก็มีความหมายที่ไม่ห่างไกลจากคำเดิม เวลาเปล่งเสียง ก็เปล่งเสียงเน้นหนักทั้งสองคำ
ฉะนั้น!! หากไม่คล่องเรื่องการจำแนกหลักภาษา ควรเลี่ยงการใช้สระ -ำ แทน ลหุ ในคำประพันธ์ประเภทที่บังคับใช้ลักษณะนี้
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), เนื้อนาง นิชานาถ, มยุเรศ เมรี, โดเรม่อน, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๑.๓ คำสร้อย
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า โคลงสี่สุภาพนั้นสามารถมี "สร้อย" เสริมได้อีก ๒ คำในท้ายบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ (เฉพาะบาทที่ ๒ นั้นห้ามมีสร้อย) การใช้คำสร้อยในโคลง จะใช้ก็ต่อเมื่อใจความของโคลงในบาทนั้นยังไม่สมบูรณ์ ดังกล่าวไว้ในตำราจินดามณีไว้ว่า
สุภาพพจน์สิบเก้า........เกลากลอน ประกิจเอย สี่ศะศิระวิวร.......................เจ็ดไว้ ต่อสร้อยเศษอักษร..............บทหนึ่ง สามนา ความบ่เต็มเตอมได้.............ดุจอ้างหย่างสะแดง ฯ (จินดามณี)
หากใจความสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำสร้อย มิฉะนั้นหากฝืนใช้ จะกลายเป็น "รกสร้อย" ไปในที่สุด อนึ่ง การเขียนคำสร้อย ให้เว้นห่างจากเนื้อโคลงปกติมาระยะหนึ่ง แล้วค่อยเขียนเสริมไป
ตัวอย่างโคลงที่เนื้อความสมบูรณ์แล้วในแต่ละบาท ไม่ต้องมีสร้อย เช่น
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์ ฯ
โบสถ์ระเบียงมณฑปพื้น ไพหาร ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์ ฯ (นิราศนรินทร์)
ตัวอย่างโคลงที่มีใจความไม่สมบูรณ์ภายในบาท จึงจำเป็นต้องใช้คำสร้อยเติมช่วยเพื่อให้ใจความสมบูรณ์ เช่น
ไป่โดยคำนุชไซร้ จึ่งกำ สรวลฤๅ แม้ว่าโดยดั่งคำ แม่พร้อง ปานฉะนี้จะเบิกบำ เทิงชื่น ชมนา เพราะพี่มาด้วยน้อง จักชี้ชวนเกษม ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
คิดไปใจป่วนปิ้ม จักคืน ใจหนึ่งเกรงราชขืน ข่มคร้าม ใจหนึ่งป่วนปานปืน ปักปวด ทรวงนา ใจเจ็บฝืนใจห้าม ห่อนเจ้าเห็นใจ ฯ (นิราศนรินทร์)
สังเกตุว่า คำเต็มคือคำว่า กำสรวล และสร้อยคือคำว่า ฤๅ คำเต็มคือ ชื่นชม และสร้อยคือคำว่า นา คำเต็มคือคำว่า ปวดทรวง และสร้อยคือคำว่า นา นั่นเอง
อนึ่ง คำสร้อย ที่นิยมใช้ในโคลง ที่มีมาแต่โบราณนั้น มีทั้งหมด ๑๘ คำ แต่ละคำล้วนมีความหมายให้เลือกใช้อย่างเหมาะสม ดังนี้
๑. 'พ่อ' ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล เช่น ลูกเอยจากแม้โอ้.............กรรมใด นาพ่อ (ลิลิตพระลอ)
๒. 'แม่' ใช้ขยายความ เฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก เช่น แสนศึกแสนศาสตร์ซ้อง.....แสนพัน มาแม่ (นิราศนรินทร์)
๓. 'พี่' ใช้ขยายความ เฉพาะบุคคล อาจทำหน้าที่ เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๑ หรือบุรุษที่ ๒ ก็ได้ เช่น สองเขือพี่หลับไหล..........ลืมตื่น ฤๅพี่ (ลิลิตพระลอ)
๔. 'เลย' ใช้ในความหมาย เชิงปฏิเสธ เช่น เรียมจากฤๅจับข้าว...........เต็มคำ หนึ่งเลย (นิราศนรินทร์)
๕. 'เทอญ' มีความหมาย ในเชิงขอให้มี หรือขอให้เป็น เช่น บาปหนาอย่าควรเคลีย.......คืนส่ง เสียเทอญ (โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์)
๖. 'นา' มีความหมายว่า "ดังนั้น" "เช่นนั้น" เช่น ไกรสรมุขพิมาน..............มีชื่อ เรือนา (ลิลิตตะเลงพ่าย)
๗. 'นอ' มีความหมาย เช่นเดียวกับคำอุทานว่า "'หนอ" หรือ "นั่นเอง" เช่น งามร่างราวเทพไท้...........แสร้งบรร จงนอ (นิราศประลองยุทธ์)
๘. 'บารนี' สร้อยคำนี้ นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า "ดังนี้" "เช่นนี้" เช่น ภูระโดกดุเหว่าร้อง............เสียงใส บารนี (ลิลิตพระลอ)
๙. 'รา' มีความหมายว่า "เถอะ" "เถิด" เช่น แขกเต้าเต้าแขกน้อง.........นงพะงา หนึ่งรา (ลิลิตตะเลงพ่าย)
๑๐. 'ฤๅ' มีความหมาย เชิงถาม เหมือนกับคำว่า "หรือ" เช่น โฉมควรจักฝากฟ้า............ฤๅดิน ดีฤๅ (นิราศนรินทร์)
๑๑. 'เนอ' มีความหมายว่า ดังนั้น "เช่นนั้น" เช่น อีกอำนาจเทวา................รักษช่วย นำเนอ (โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์)
๑๒. 'ฮา' มีความหมายว่า "'ดังนั้น" "เช่นนั้น" ' เช่นเดียวกับ คำสร้อย นา เช่น สงสารเป็นห่วงให้.............แหนขวัญ แม่ฮา (นิราศนรินทร์)
๑๓. 'แล' มีความหมายว่า "อย่างนั้น" "เป็นเช่นนั้น" เช่น คงชีพหวัดได้พึ่ง...............ภูมี พ่อแล (ลิลิตพระลอ)
๑๔. 'ก็ดี' มีความหมาย ทำนองเดียวกับ "ฉันใดก็ฉันนั้น" เช่น นิทานนิเทศท้าว...............องค์ใด ก็ดี (นิราศนรินทร์)
๑๕. 'แฮ' มีความหมายว่า "เป็นอย่างนั้นนั่นเอง" ทำนองเดียว กับคำสร้อย แล เช่น หวนหอบหักฉัตรา..............คชขาด ลงแฮ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
๑๖. 'อา' สร้อยคำนี้ ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียก ให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำ ออกเสียงพูด ในเชิง รำพึง แสดงความวิตกกังวล เช่น เป็นไฉนจึงด่วนทิ้ง.............น้องไป พี่อา
๑๗. 'เอย' ใช้เมื่ออยู่หลัง คำร้องเรียก เหมือนคำว่า เอ๋ย หรือวางไว้ ให้คำครบตามบังคับ เช่น เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง............อันใด พี่เอย (ลิลิตพระลอ)
๑๘. 'เฮย' ใช้ในลักษณะ ที่ต้องการเน้น ให้มีความเห็น คล้อยตามข้อความ ที่กล่าวมาข้างหน้า สร้อยคำนี้ มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" ดังนั้นเมื่อใช้ ในคำสร้อย จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน เช่น สระเทินสระทกแท้...............ไทถวิล อยู่เฮย (ลิลิตตะเลงพ่าย)
นอกเหนือจากสร้อยทั้ง ๑๘ คำนี้แล้ว ยังมีสร้อยอีกชนิดหนึ่งคือ "สร้อยเจตนัง" "สร้อยเจตนัง" เป็นสร้อยที่ใส่ตามใจผู้เขียน ไม่เป็นที่นิยมใช้กันในงานพิธีการหรืองานกวีนิพนธ์ต่าง ๆ จึงหาตัวอย่างได้ยาก ที่ไม่นิยมใช้ในพิธีการ อาจเพราะหากผู้เขียนใช้คำตายหรือคำเสียงสั้นเป็นสร้อย จะทำให้การทอดเสียงไม่กังวาน มิใช่ว่าไม่ไพเราะ (สร้อยเจตนัง หากเลือกคำใช้ได้เหมาะสม ก็ไพเราะเช่นกัน) สังเกตุว่าคำสร้อยที่นิยมใช้กันทั้ง ๑๘ คำนั้น ส่วนใหญ่เป็นเสียงเสียงสามัญ หรือเป็นคำที่ทอดเสียงยาวได้ กังวานได้ นั่นเอง
"ธรรมมาศน์อาศน์สงฆ์แสดง......เสดาะสัตว์ ทุกข์ทั่ว" (โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย) "หายเห็นประเหลนุช.................นอนเงื่อง งงง่วง" (โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย) "พวกไทยไล่ตามเพลิง...............เผาจุด ฉางฮือ" (โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ ๗๘)
อนึ่ง คำสร้อยในโคลงสี่สุภาพนั้น ถึงแม้บอกไว้ว่าใส่ได้ในท้ายบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ แต่ได้มีปรากฏมีการใช้คำสร้อยในท้ายบาทที่ ๔ เช่นกัน ดังตัวอย่างในวรรณกรรม "ลิลิตพระลอ" เช่น
หญิงชายเหลือแหล่งหล้า.......ฤๅยล ยากนา เห็นแต่เราสองคน.......................คู่ม้วย ฉันใดพ่อกับตน..........................เปนดั่ง นี้นา แม้พ่อตายตายด้วย.....................พ่อแล้จอมใจ แม่เอย ฯ
หรือ นางโรยสนองนาฎข้า..............กลอยฝัน ฝันอ่อนเสวยไอศวรรย์..................ฟากฟ้า สองเสวยอมฤตปัญ......................จรสร่วม กันนา ลอบพิตรเจ้าหล้า.........................พรุ่งนี้มาถึง แม่แล ฯ
ฉะนั้น การใช้สร้อยในบาทที่ ๔ นั้น จึงไม่ถือว่าผิด เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะบาทที่ ๔ ถือเป็นบาทเก็บความ ซึ่งควรกระชับและโดนใจในเนื้อความที่สุด นั่นเอง
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), เนื้อนาง นิชานาถ, โดเรม่อน, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๑.๔ การสลับตำแหน่งคำเอก-คำโท ในโคลง
ในโคลงสี่สุภาพนั้น ตำแหน่งคำเอก คำโท ในโคลงที่บังคับไว้นั้น สามารถสลับที่กันได้หนึ่งแห่ง นั่นคือ คู่คำเอก-โท ในคำที่ ๔-๕ ของบาทแรกหรือ "บาทต้น" นั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น สลับได้เฉพาะบาทนี้เท่านั้น ตรงตำแหน่งอื่นไม่สามารถสลับได้ ดังกล่าวไว้ในตำราจินดามณีว่า
โทเอกผลัดเปลี่ยนได้.......โดยประสงค์ แห่งที่ห้าควรคง...................บทต้น บทอื่นอาจจะปลง................แปลงแบบ นาพ่อ เฉพาะแต่บทหนึ่งพ้น............กว่านั้นฤๅมี ฯ (จินดามณี)
ตัวอย่างการสลับตำแหน่งเอก-โท ที่ปรากฏในวรรณกรรม
ทัพใต้ทัพตั้งป่า...............เป็นเรือน จากนุชมานอนเดือน.............ต่างใต้ ตรอมตายแต่จักเยือน............กันยาก แลแม่ เรือน ฤ เห็นเห็นไม้................ป่าไม้เป็นเรือน ฯ (นิราศนรินทร์)
อ้าพระปิ่นเกล้าแผ่น.........ธรณินทร์ แต่แรกเรียมฟังยิน.................ข่าวไท้ จักกินบ่เปนกิน......................ครวญใคร่ พระนา นอนบ่เปนนอนไข้..................สวาทถ้าฟังสาร ฯ (ลิลิตพระลอ)
ทรามรักอย่าร้องร่ำ.............กำสรวล อยู่แม่อย่าเสวยครวญ..............ละห้อย บ่นานบ่หน่ายนวล...................แหนงเสน่ห์ นุชนา เสร็จทัพกลับถนอมสร้อย..........อย่าเศร้าเสียศรี ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๑.๕ การใช้เอกโทษ-โทโทษ
คำว่า โทษ ในคำประพันธ์ หมายถึง ความบกพร่อง ฉะนั้น เอกโทษ และโทโทษในคำโคลงคือ ข้อบกพร่องในการใช้คำที่มีรูปเอกและรูปโทนั่นเอง กล่าวคือ เมื่อหาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก หรือโท มาใส่ตามฉันทลักษณ์ในโคลงไม่ได้ ผู้ประพันธ์สามารถทำการแปลงคำปกติให้มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการ แล้วนำไปใช้ให้ได้ตามฉันทลักษณ์ นั่นเอง
- เอกโทษ คือ การแปลงคำปกติที่มีรูปวรรณยุกต์โท ให้เป็นวรรณยุกต์เอก เช่น หมั้น เป็น มั่น ,ถ้า เป็น ท่า ,ข้าว เป็น ค่าว ฯลฯ - โทโทษ คือ การแปลงคำปกติที่มีรูปวรรณยุกต์เอก ให้เป็นวรรณยุกต์โท เช่น ย่ำ เป็น หย้ำ ,เล่น เป็น เหล้น ,เพื่อน เป็น เผื้อน ฯลฯ
อนึ่ง ในความคิดเห็นส่วนตัว การแปรรูปคำปกติให้เป็น "คำโทษ" นั้น ปัจจุบันนี้เรามีระบบคำเกิดขึ้นให้เลือกใช้มากกว่าสมัยก่อนมาก หากไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรทำ เพราะว่า บางคำเมื่อแปลงเป็นโทษแล้ว บางคำไม่มีความหมาย และบางคำจะเกิดกรณี "คำพ้องเสียง" กันขึ้นมา เช่น หมั้น- มั่น / สิ้น-ซิ่น / น่า-หน้า ซึ่งแต่ละคำมีความหมายในตัวเองไปคนละอย่าง และอีกกรณี เป็นการคล้ายประกาศตนไปด้วยว่า เราหย่อนความเพียรในการหาคำจริงที่จะสื่อความหมายแท้ ๆ มาใช้ได้แล้ว นั่นเอง
ตัวอย่างการใช้เอกโทษ โทโทษ ซึ่งพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ด้วยอารมณ์ขันดังนี้
เชิญดูตูค่าเหล้น...............โคลงโลด โผนเฮย ยกค่อยอประโยชน์.................เค่าเหยี้ยง เอกโทท่อยเป็นโทษ................เทียบไฮ่ เห็นนา แปรแซร่งแปลงถูกเถี้ยง...........ท่วนถี้ทีแสดง (สามกรุง)
อธิบายคำโทษ : ค่าเหล้น = ข้าเล่น ,ค่อ = ข้อ ,เค่าเหยี้ยง = เข้าเยี่ยง ,ท่อย = ถ้อย ไฮ่ = ให้ ,แซร่ง = แสร้ง ,เถี้ยง = เที่ยง ,ท่วนถี้ = ถ้วนที่
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒. ศิลปะในการแต่งโคลงสี่สุภาพ
ผ่านข้อบังคับกันไปแล้ว ก็ถึงคราวกลเม็ดหรือลูกเล่นบางอย่างกันบ้าง (มิใช่ข้อบังคับ)
ดังที่กล่าวมาแล้ว อันจะเห็นได้ว่า "โคลง" เป็นศิลปะการประพันธ์ที่ใช้คำน้อย แต่กินความหมายมาก เป็นไปในทางอลังการและสง่างาม จึงมิอาจใช้คำบรรยายได้มากเท่ากลอน แต่กระนั้นก็ยังมีลูกเล่นและกลเม็ดเสริมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความไพเราะให้โคลงนั้นน่าอ่านยิ่งขึ้นด้วย อาทิเช่น
๒.๑ การเพิ่มจังหวะเสริมด้วยคำลหุ
ในการเขียนโคลงนั้น อย่างที่ทราบแล้วว่า ให้วรรคหน้ามีได้ ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ (ยกเว้นบาทที่สี่ซึ่งวรรคหลังมี ๔ คำ) แต่ในการเขียนนั้น มิจำเป็นต้องเทิ่ง ๆ ๕ พยางค์หรือ ๒ พยางค์ตลอด ย่อมมีจังหวะเสริมเป็นปลีกย่อยอีกชั้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้เขียนจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ นั่นคือการเพิ่ม "ลหุ" เข้าไปในโคลง โดยไม่ให้จังหวะหรือรูปแบบของโคลงนั้นเสียไป
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าคำลหุแท้ที่ประกอบอยู่ในคำมูลนั้น เช่น พิทักษ์ พิกุล ผสาน โพยม เกษม สงวน สวรรค์ ฯลฯ นั้น แม้จะมีสองพยางค์ แต่เมื่อนำไปใช้ในโคลง สามารถนับเป็นได้ทั้ง ๑ หรือ ๒ คำก็ได้ แล้วแล้วเจตนาของผู้เขียน ด้วยหลักการดังกล่าวนี้เอง ในกรณีที่ผู้เขียนเจตนานับรวบเป็น ๑ คำ ทำให้โคลงเกิดจังหวะเสริมหรือการสะบัดของคำขึ้นมา อันเกิดจากจังหวะของการอ่านรวบแบบเก็บคำ ทำให้โคลงเกิดความพลิ้วไหวไพเราะยิ่งขึ้น (ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้อย่างเหมาะสมด้วย มิฉะนั้นอาจกลายเป็นเปรอะคำไปเสียได้)
ตัวอย่างการใช้คำลหุเพิ่มจังหวะเสริมของโคลงในวรรณกรรม
เคยสายสมรแนบเนื้อ..........ถนอมองค์ ถวายสุคนธ์ธารสรง...................อยู่ซ้อง ยามร้างคณะอนงค์...................แหนงโศก สรงแต่สายชลห้อง....................แห่งห้วงเหวธาร ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
สาวสวรรค์เสพสวัสดิ์ถ้วน.......เทวินทร์ พรหมภักษ์ทิพย์ปัถพิน................งอกง้วน จักรพรรดิ์ร่วมนารินทร์.................รัตนนาฏ สามเสพทิพย์ลาญล้วน................เล่ห์น้องเรียมเกษม ฯ (นิราศนรินทร์)
สาลิกาวานส่งสร้อย.............สารกู หนึ่งรา แถลงแด่สองพธู........................พี่น้อง ทรหนอยู่ทรหู............................หาอ่อน อวรนา เห็นแต่นกหกร้อง.......................ร่ำร้องรนสมร ฯ (ลิลิตพระลอ)
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒.๒ การสัมผัสอักษร
โดยนิยมแล้ว โคลงไม่มุ่งเน้นสัมผัสในอันเป็นสัมผัสสระเหมือนกลอน ใช้เพียงเป็นส่วนประกอบ แต่มุ่งเน้นการใช้น้ำหนักเสียงสูงต่ำของคำแต่ละคำในวรรคอย่างมีจังหวะ และการสัมผัสอักษรอย่างเหมาะสมของแต่ละคำในบาท ซึ่งแล้วแต่กลเม็ดของแต่ละบุคคลจะใช้ และการสัมผัสอักษรที่นิยมกันมากนั้น คือการสัมผัสอักษรข้ามวรรค คือระหว่างวรรคหน้าและวรรคหลังภายในบาท นั่นคือ การสัมผัสอักษรระหว่างคำที่ (๕) กับคำที่ (๖ หรือ ๗) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรื่น และความสง่างามของโคลงในบทนั้น ๆ ส่วนสัมผัสอักษรจุดอื่น ๆ แล้วแต่ฝีมือของผู้ประพันธ์จะวางไป โดยไม่ให้เสียเนื้อความ
ตัวอย่างการใช้สัมผัสอักษรระหว่างวรรคหน้าและวรรคหลังภายในบาท
ไอยราฤทธิเลิศล้ำ.............ลือดิน ดูดั่งพาหนะอินทร์...................เอี่ยมฟ้า อาจค้ำคชะอรินทร์...................รอนชีพ ชาญศึกฮึกหาญกล้า................กลั่นแกล้วกลางสมร ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง............เพรงกาล จากจุฬาลักษณ์ลาญ.................สวาทแล้ว ทวาทศมาสสาร........................สามเทวษ ถวิลแฮ ยกทัดกลางเกศแก้ว...................กึ่งร้อนทรวงเรียม ฯ (นิราศนรินทร์)
สัตวาวานช่วยร้อน...............เร็วไป หนึ่งรา บอกข่าวพระลอไกล..................กลิ่นชู้ เสด็จมาอยู่อาไศรย...................สวนราช นี้นา ให้จงสองท้าวรู้..........................ที่ร้อนแรมศรี ฯ (ลิลิตพระลอ)
อนึ่ง ถึงแม้จะบอกว่า โคลงนิยมสัมผัสอักษรเป็นเอกนั้น แต่ว่า ท่านสุนทรภู่ก็ได้สร้างทางโคลงของตนเองขึ้นมา โดยใช้การสัมผัสสระที่ตนเองถนัด มาบวกเพิ่มกับการสัมผัสอักษรดังกล่าว สร้างทางโคลงเฉพาะตนเองขึ้น (ผมคิดเช่นนั้น) หรือเพราะความถนัดและเคยชิน หรือว่าเป็นการต่อยอดจากกาพย์ห่อโคลงของพระศรีมโหสถก็ไม่รู้ได้ (โคลงของพระศรีมโหสถใน "กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ" คลิก นั้น เน้นสัมผัสสระในวรรคหน้าคำที่ ๒-๓) ทางโคลงเฉพาะตนของท่านสุนทรภู่ ได้แสดงไว้ใน "โคลงนิราศสุพรรณ" คลิก ซึ่งแต่งไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๔ และเป็นนิราศเรื่องเดียวของท่านสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ
ตัวอย่างโคลงนิราศสุพรรณ
แซ่เสียงเวียงราชก้อง กังสดาน หง่งหงั่งระฆังขาน แข่งฆ้อง สังแตรแซ่เสียงประสาร สังขีด ดีดเอย ยามดึกครึกครื้นก้อง ปี่แก้วแจ้วเสียง ฯ
วัดเลียบเงียบสงัดหน้า อาราม ขุกคิดเคยพญายาม แย่งน้อง รวยรินกลิ่นสไบทราม สวาดร่วง ทรวงเอย สูรกลิ่นสริ้นกลอนพร้อง เพราะเจ้าเบาใจ ฯ
เจริญบุญสุรธรไว้ ให้สมร สืบสวัสสัฐาภร ผ่องแผ้ว เชิญทราบกาพกลกลอน กล่าวกลิ่น ถวินเอย จำขาดชาตินี้แคล้ว คลาดน้องของสงวน ฯ
วัดแจ้งแต่งตึกตั้ง เตียงนอน เคยปกนกน้อยคอน คู่พร้อง เคยลอบตอบสารสมร สมานสมัคร รักเอย จำจากพรากนุชน้อง นกน้อยลอยลม ฯ (นิราศสุพรรณ)
ที่เน้นด้วยอักษรสีแดงคือ สัมผัสอักษรระหว่างวรรคดั่งที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และ สีน้ำเงิน คือ สัมผัสสระภายในวรรคและระหว่างวรรค ที่เป็นลีลาเฉพาะตนของท่านสามจุด คือ (จุดแรก คำที่ ๒-๓ ของวรรคหน้าของโคลง จุดที่สอง คือช่วงต่อระหว่างเนื้อโคลงและคำสร้อย จุดที่สาม คือ คำที่ ๗-๘ ของบาทที่สี่) ซึ่งเพิ่มเข้าไปในโคลงเป็นลักษณะนี้ตลอดการประพันธ์ (มิใช่ข้อบังคับแต่ประการใด) ใครชอบหรือนิยมหรือถนัดแบบไหน เลือกรังสรรค์ได้ตามความชอบครับ โดยส่วนตัวผมชอบแบบด้านบนมากกว่า (แต่ไม่ว่าแบบไหน ล้วนแต่ต้องใช้ด้วยความเหมาะสม ต้องไม่พยายามมุ่งแต่ที่จะใช้จนเนื้อความที่จะสื่อนั้นจางลง)
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒.๓ การย้ำคำ
นอกจากการสัมผัสอักษรแล้ว โคลงสี่สุภาพนิยมความไพเราะโดยการ "เล่นคำ ย้ำคำ" เพื่อเพิ่มความไพเราะในบทโคลง เช่น
นกแก้วจับกิ่งแก้ว..................กอดคอน กลพี่กอดแก้วนอน......................แนบเนื้อ นางกวักนกกวักจร.......................จับกวัก ไกวแม่ หลงว่ากรนุชเกื้อ.........................กวักให้เรียมตาม ฯ (นิราศนรินทร์)
เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง..........นวลปราง รักดั่งรักนุชพาง..........................พี่ม้วย ช้องนางเฉกช้องนาง....................คลายคลี่ ลงฤๅ โศกพี่โศกสมด้วย.......................ดั่งไม้นามมี
อบเอยอบชื่นชี้......................เฌอสม ญาฤๅ อบว่าอรอบรม............................รื่นเร้า อบเชยพี่เชยชม.........................กลิ่นอบ เฌอนา อบดั่งอบองค์เจ้า........................จักให้เรียมเชย (ลิลิตตะเลงพ่าย)
หรือการเล่นย้ำคำในคำที่ ๕ กับคำที่ ๗ ของบาทที่สี่ ก็มักมีให้เห็น เป็นต้น เช่น
ขุนพาฬพยัคฆ์เคล้า..............พยัคฆี สารสู่สาวคชลี..........................แหล่งเหล้น ปวงสัตว์เพรียกไพรี....................สังวาส สังเวชสมรมาเว้น.......................พี่เว้นวายชม (นิราศนรินทร์)
เสียงโหยเสียงไห้มี่...............เรือนหลวง ขุนหมื่นมนตรีปวง.......................ป่วยซ้ำ เรือนราษฎร์ร่ำตีทรวง...................ทุกข์ทั่ว กันนา เมืองจะเย็นเปนน้ำ......................ย่อมน้ำตาครวญ ฯ (ลิลิตพระลอ)
แม้ดวงกมลาศได้..................มาดล โดยสถานแถวสถล.....................ที่นี้ จักชวนแม่ชมบน........................บรรพต โพ้นแฮ พลางแม่ชมเรียมชี้......................แม่ชี้เรียมชม (ลิลิตตะเลงพ่าย)
ทั้งนี้ทั้งนั้น การย้ำคำหรือซ้ำคำ ต้องวางคำด้วยความเหมาะสมโดยไม่ให้เนื้อหานั้นจางไป
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒.๔ การบีบอัดอารมณ์ของโคลง
ปกติแล้ว คำท้ายบาทที่ ๑ ของโคลง ที่จะส่งสัมผัสไปยังบาทที่ ๒ และ ๓ นั้น มักไม่นิยมปิดท้ายด้วยคำตาย เพื่อต้องการให้ความกังวาน (คำตายมักออกเสียงยาก และเปล่งก้องไม่ได้) แต่ในกรณีที่ต้องการให้โคลงแสดงความอัดอั้น หรือความเฉียบขาด อาจใช้คำตายปิดท้ายบาทที่ ๑ เพื่อส่งสัมผัสไปยังคำที่ห้าของบาท ๒ และบาท ๓ เช่น
บัดมงคลพ่าห์ไท้...................ทวารัติ แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด..........ตกใต้ อุกคลุกพลุกเงยงัด......................คอคช เศิกแฮ เบนบ่ายหงายแหงนให้................ท่วงท้อทีถอย ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
อุรารานร้าวแยก....................ยลสยบ เอนพระองค์ลงทบ......................ท่าวดิ้น เหนือคอคชซอนซบ.....................สังเวช วายชิวาตม์สุดสิ้น.......................สู่ฟ้าเสวยสวรรค์ ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
โอ้ดวงดาเรศด้อย...................เดือนดับ ดับดั่งดวงอัจกลับ........................พู่พร้อย ชวาลาจะลาลับ...........................นุชพี่ แพงเอย หลับ ฤ ตื่นตรอมละห้อย...............อยู่ห้องหนหลัง ฯ (นิราศนรินทร์)
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒.๕ ใช้เสียงสูงเพื่อเอื้อต่อการเอื้อนเสียงของโคลง
- คำจบบทของโคลงแต่ละบท (คำสุดท้ายบาทที่ ๔) ไม่ใช้คำตาย มักปิดท้ายคำจบบทด้วยเสียงสามัญ หรือเสียงจัตวา และหากได้เสียงจัตวาถือว่าไพเราะยิ่ง เพราะจะได้เอื้อนเสียงสูงได้ไพเราะเวลาขับทำนองเสนาะจริง - เช่นเดียวกัน ในบาทที่สาม คำสุดท้ายของวรรคหน้า (คำที่ ๕) หากได้เสียงจัตวาก็จะดียิ่ง และสัมผัสอักษรกับวรรคหลัง จะเหมาะมาก เพราะเป็นอีกจุดที่ต้องเอื้อนทอดเสียงต่อเนื่องกันเวลาขับโคลงจริง (มิใช่ข้อบังคับ)
เช่น
บ มลายสมรเร่งเร้า...............ฤทธิรงค์ สองอ่อนระทวยองค์...................ละห้อย ความรักดุจทิพยสรง...................โสรจชื่น บัดชื่นบัดเศร้าสร้อย...................สร่างสร้อยสรดใส ฯ (ลิลิตพระลอ)
มหิศวรสองราชเจ้า...............จักรพาล เถลิงสมุทรพิมาน.......................มาศย้อม เฉกไพชยนต์สถาน.....................ทิพยอาสน์ อินทร์เอย แก้วก่องทองเถือกพร้อม.............เพริศพร้อยพรายแสง ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
จำปาจำเปรียบเนื้อ................นางสวรรค์ กูเอย ศรีสุมาลัยพรรณ.........................พิศแพ้ ช้องนางคลี่ระส่ายสรร.................สลายเซ่น คือนุชสนานกายแก้.....................เกศแก้วกันไร ฯ (นิราศนรินทร์)
และ ลีลาการรับส่งเสียงที่นับว่าถือได้ว่าไพเราะยิ่งของโคลงคือ ขึ้นสูง รับสูง ส่งสูง เช่น
แลพลางทางเทวษไห้.............หาศรี ยามพระสุริยะลี..........................ลดฟ้า พระสดับแต่เสียงผี......................เผือนพูด กันแฮ ปั่นหฤทัยท่านว้า........................หวาดเพี้ยงจักรผัน ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒.๖ ปัจจุบันนิยมเพิ่มความไพเราะให้โคลงสี่สุภาพ โดยการส่งสัมผัสจากบาทที่ ๓ ไปบาทที่ ๔ ด้วย (มิใช่ข้อบังคับ) กล่าวคือ ให้คำสุดท้ายในบาทที่สาม (คำที่ ๗) ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ ,๒ หรือ ๓ ในบาทที่สี่ เช่น นฤมลมีพี่เลี้ยง...................ทั้งสอง ชื่อว่านางจันจอง.....................จัดไว้ นางเจิมคู่เคียงสนอง.................ถนอมนาฏ เฉลียวฉลาดเลศได้...................ดั่งน้ำใจถวิล ฯ (ลิลิตพระฦๅ)
มาด่านด่านบ่ร้อง.................เรียกพัก พลเลย ตาหลิ่งตาเหลวปัก.....................ปิดไว้ ตาเรียมหลั่งชลตัก.....................ตวงย่าน ไฟด่านดับแดไหม้......................มอดม้วยฤๅมี ฯ (นิราศนรินทร์)
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
๒.๗ การร้อยโคลง
"โคลงสี่สุภาพ" ในกรณีแต่งมากกว่าหนึ่งบทขึ้นไป แม้ไม่มีว่าต้องบังคับสัมผัสระหว่างบทเหมือนกลอน แต่ผู้แต่งสามารถเพิ่มความไพเราะ โดยใส่สัมผัสระหว่างบท หรือที่เรียกกันว่า "ร้อยโคลง" ได้ โดยให้คำสุดท้ายของบทก่อนหน้า ส่งสัมผัสสระไปยังคำที่ ๑ ,๒ หรือ ๓ ของบทต่อไป เช่น
สาวสนมสนองนาถไท้........ทูลสาร พระจักจรจากสถาน................ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุรกันดาร...............ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว...............ด่วนร้างแรมไฉน
จำใจจำจากเจ้า................จำจร จำนิราศแรมสมร....................แม่ร้าง เพราะเพื่อจักไปรอน...............อริราช แลแม่ จำทุกข์จำเทวษว้าง................สวาทว้าหวั่นถวิล
ยินสารสมเด็จไท้..............ภรรดา ดาลสุชลธารา.......................หยาดยัอย เศียรซบแทบบาทา.................ทางเทวษ ฤๅใคร่วายว่างสร้อย................สร่างสิ้นกันแสวง
ทูลแถลงแห่งบาปเบื้อง.......บูรพ์ไฉน จึ่งบดินทรเด็ดใจ.....................จากห้อง พระเสด็จแด่เดียวไกล..............แดนราช ฤๅพระจักละน้อง.....................อยู่ว้าวังขัง (ลิลิตตะเลงพ่าย)
ไคลคลามาสู่ข้าง.................ขอบผนัง รูปเรื่องรามเกียรติ์ขลัง...............ภาพคุ้น โคลงสี่สุภาพฝัง........................สี่ฟาก เสาพ่อ โคลงเล่าเค้าเรื่องกระตุ้น............ต่อตั้งคติหมาย
นิยายย่อมผูกย้ำ..................คตินิยม ถอดถ่ายเท็จจริงผสม................ซับซ้อน เจียระไนทัศโนดม.....................โดยชีพ จากชีพสู่ชีพช้อน.......................เชิดชั้นเชิงชน
ชีพคนคือต้นแบบ.................ฉบับไข ก่อเกิดวรรณกรรมไพ-................เราะแล้ว สายธารที่หลั่งไหล.....................ท้นหลาก สายแห่งวรรณศิลป์แก้ว..............ส่องแก้วกมลฉาย
มากมายหลายหลากเนื้อ........มณีอนันต์ ละชีพละชนม์ประชัน..................โชติช้ำ ประมวลแม่บทบำ......................เพ็ญเบิก บทพ่อ จากชีพสู่ชีพซ้ำ...........................ส่องชี้ชัยเสมอ (ชักม้าชมเมือง)
การร้อยสัมผัสระหว่างบทแบบนี้เรียกว่า "โคลงสุภาพลิลิต" แต่หากว่าไม่มีการร้อยสัมผัสระหว่างบท เรียกว่า "โคลงสุภาพชาตรี" นั่นเองครับผม
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, Paper Flower, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 65535
ออฟไลน์ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10090
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
บทเสริม
อันเนื่องจากได้กล่าวถึงลีลาโคลงเฉพาะตนของท่านสุนทรภู่เอาไว้แล้ว ในข้อ ๒.๒ ดังนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอีกท่านหนึ่งที่สร้างลีลาโคลงเฉพาะตนขึ้น นั่นคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยการเพิ่มจังหวะเสริมด้วยคำลหุ แบบเต็มที่ ด้วยลีลาเฉพาะตนเช่นนี้จึงเรียกขานว่า "โคลงสี่ลีลา" ขึ้นมา ดังตัวอย่างโคลงลิลิตมหามกุฏราชคุณานุสรณ์ ของท่าน
เจ้าฟ้ามหามกุฎขึ้น.....................เถลิงรัชย์ เฉลิมเผ่าจอมเกล้ากษัตร์...................สืบเชื้อ ผดุงเมืองรุ่งเรืองมหัศ.......................ะจรรย์เจิด เจริญเอย พุทธศาสน์ราชกรัญเกื้อ....................เกียรติ์ด้าวอุดมสยาม บารนี
อุทรใช้ฉินนะเบื้องแผ่น.................สุพรรณะเพ ฬุศัสตร์พ่อ สุลหุทกซกสรงเท..............................ถาดแพร้ว วางยิภู่ทับด้งเสร...............................ร่อนรับ องค์รา สถิตแท่นแว่นฟ้าแล้ว.........................ปรกกั้นกระโจมขาว
ปางจอมเสน่ห์ออกท้อง.................โรงคัล สถิตร่วมราชอาสน์สุวรรณ..................เวี่ยไท้ เศรณะมาตย์ราชตระกูลอนันต์............นอบนับ ถือนา เฉกศุกระดาเรศไว้..............................สง่าเวิ้งวังถวัลย์
ถวิลประกาศพุทธศาสน์สเทื้อน.......ธรรมแถลง โลกรา ถวิลสนิธพิธะพรรคแสวง.....................เกียรติ์กว้าง ถวิลทนุกสุขศันติ์แสดง.......................ผะดาทเรศ ผะดุงเอย ถวิลสพขนบเมืองมล้าง.......................มืดรู้ฟูถวิล หวังเอย
ขัติยพันธุ์อนันตมาตย์พร้อม............ประนอมเจตน์ เชิญอนุชพุทธดนัยเกศ.........................กษัตริย์ไท้ เถลิงสวรรค์สืบสวรรเยศ.......................สยามมะภพ ผดุงเอย แห่ประเวศมหานิเวสน์ไว้......................สง่าเมื้อเรือศรี
** สังเกตุเห็นบทแรก และบทที่ ๔ มีสร้อยในบาทที่สี่ด้วย ซึ่งเข้าลักษณะข้อ ๑.๓ ที่อธิบายเรื่องคำสร้อยไว้ด้านบน
ด้วยลักษณะลีลาโคลงดังกล่าวนี้ ผู้อ่านโคลงนี้จึงต้องอ่านแบบลักษณะของการตีระนาดแบบ "ตีเก็บ" คือการตีแบบเพิ่มเสียงสอดแทรกให้มีทำนองถี่ขึ้นมากกว่าธรรมดา คือตีไม้ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบลูกระนาดสองลูกพร้อม ๆ กัน เหมือนโคลงลักษณะนี้ที่ต้องอ่านรวบคำ หรือเก็บคำให้ได้จังหวะ นั่นเอง
- Black Sword - (หมู มยุรธุชบูรพา)
• กลับสู่หน้า สารบัญ โคลง คลิก • กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก • กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก • กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก • กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก • กระโดดสู่ห้องเรียน กลอนกลบท คลิก • กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก
รายนามผู้เยี่ยมชม : รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, Paper Flower, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, ตูมตาม, กรกช, หญิงหนิง พราววลี, ศรีเปรื่อง, ปิ่นมุก, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, หนูหนุงหนิง, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีเปรื่อง
สมาชิกพิเศษ
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 5749
ออฟไลน์ID Number: 43
จำนวนกระทู้: 489
ข้าพเจ้าเพียงใช้บทกวี เพื่อหย่อนฤดี ฯ
|
Permalink: Re: โคลงสี่สุภาพ - วรรณศิลป์แห่งความสง่างาม
แหม...คุณหมูเขียนได้ดีจริง ๆ แสดงว่า คุณหมูต้องอ่านทำนองเสนาะ "โคลง" เก่งแน่ ๆ มีคนเคยบอกผมว่า โคลง ต้องเอกเจ็ด โทสี่ จึงจะอ่านได้ไพเราะ ผมก็แอบเถียงอยู่ในใจ ว่ามันไม่ใช่ มันเป็นสิ่งที่แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้เขียนมากกว่า แต่ก็นะ เถียงในใจ คือ ไม่ได้พูดออกไป ส่วนตัวของผม เห็นว่าตรงนี่แหละที่ทำให้โคลงไพเราะของจริง และ ลีลาการรับส่งเสียงที่นับว่าถือได้ว่าไพเราะยิ่งของโคลงคือ ขึ้นสูง รับสูง ส่งสูง เช่น
แลพลางทางเทวษไห้.............หาศรี ยามพระสุริยะลี..........................ลดฟ้า พระสดับแต่เสียงผี......................เผือนพูด กันแฮ ปั่นหฤทัยท่านว้า........................หวาดเพี้ยงจักรผัน ฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
ส่วนเสียง กึ่งมาตรา หรือ คำลหุ นี่ ก็เพิ่มลีลาให้โคลงอีกอักโขภิณี แล้วผมก็มีความเห็นเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ... คำในตำแหน่งโท ก็มีส่วนครับ ถ้าเลือกใช้คำโท ที่ให้เสียงตรี เสียงจะเปิดขึ้นสูงกว่าคำเสียงโท เวลาอ่านทำนองเสนาะแล้ว จะฟังดูเท่ห์มาก ๆ เลยครับ แต่องค์ประกอบเหล่านี้ ทั้งเรื่องเสียงจัตวา, คำลหุ, คำโทเสียงตรี นี่ ก็ต้องใช้ให้พอเหมาะพอเจาะ ไม่อย่างนั้นมันจะตีกัน เพราะ ชิงกันเด่น 555 ศรีเปรื่อง
รายนามผู้เยี่ยมชม : ปลายฝน คนงาม, รพีกาญจน์, ลิตเติลเกิร์ล, Paper Flower, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, กรกช, กร กรวิชญ์, Black Sword, ตูมตาม, ปิ่นมุก, หญิงหนิง พราววลี, น้ำหนาว, ลินดา, อิงดาว พราวฟ้า, ปลาย อักษร, ธนเดช, ฟองเมฆ, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), โดเรม่อน, เป็น อยู่ คือ, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|