
พุทธแท้หรือแค่กาฝาก...
เมื่อพูดถึงต้นไม้ เราก็รู้ว่า ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผลและเมล็ด รวมกันทั้งหมดนี้นั้นแหละจึงเป็นต้นไม้ ไม่ไช่เพียงแค่ลำต้นอย่างเดียว และต้นไม้ต้องอาศัยเมล็ดพันธุ์ที่ดี ดิน น้ำ ปุ๋ยที่เหมาะสม รวมถึงการดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอ ต้นไม้จึงจะงอกเงยเจริญเติบโตได้ดี
ใน๑ส่วนของปุ๋ยและน้ำจะถูกแบ่งออกไปเป็นเปลือก กระพี้ และแก่น เมื่อต้นไม้ค่อยๆเจริญเติบโต เปลือก กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล จะร่วงหล่นไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า และผุพังกลายเป็นดินเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ได้ดำรงอยู่อย่างนั้น..
อุปมาว่า..
- ต้นไม้คือพุทธศาสนา
- เมล็ดพันธุ์ ดิน ปุ๋ย น้ำ คือชาวพุทธ ๔ ประเภท มี
๑.อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว
๒.วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมจะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า
๓.เนยยะ คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิเมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
๔.ปทปรมะ คือ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิแม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร ไม่สามารถบรรลุอะไรได้ในชาตินี้ ด้วยขาดซึ่งสติปัญญา แต่จะเป็นอุปนิสัย วาสนา บารมีต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งคนเหล่านี้อุปมัยเหมือนเปลือก กิ่ง ก้าน ใบ ดอกที่ร่วงหล่นผุพังกลายเป็นดิน เป็นปุ๋ยเพื่อการดำรงอยู่ของต้นไม้ เป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ต้องกลายเป็นแก่นไม้ได้ในวันหนึ่งข้างหน้าแน่นอน..
ดังนั้นคนทั้ง ๔ จำพวกนี้ ผู้ที่มีความเชื่อมั่นว่าพุทธศานาเป็นที่พึ่งที่ระลึกแห่งตน จึงเป็นพุทธศาสนิกชน ไม่เป็นอื่นอย่างจริงแท้...
มารู้จักพุทธะกัน..
พุทธะแปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ดังนั้นพุทธะคือ ผู้ตรัสรู้แล้ว มี ๓ ประเภท คือ
- สัพพัญญูพุทธะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เอง สั่งสอนผู้อื่นไห้รู้ตามได้
- ปัจเจกพุทธะ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เอง แต่ยังผู้อื่นไห้รู้ตามไม่ได้
- อนุพุทธะ แปลว่าผู้รู้ตามหมายถึงพระอรหันตสาวก
ฉะนั้นพุทธแท้คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรมแล้ว นอกนั้นเป็นเพียงพุทธศาสนิกชนด้วยกันแท้ๆ หากแต่แตกต่างกันบ้างตามภูมิจิต ภูมิธรรม จึงไม่ควรด้อยค่ากัน เพราะอาจกลายเป็นผู้ทำลายศาสนาด้วยการทำไห้ผู้ที่ศรัทธาอยู่แล้วเสื่อมสิ้นศรัทธา และไม่เป็นการทำผู้ที่ยังไม่ศรัทธาไห้หันมาศรัทธาได้
หมายเหตุ บทความนี้เป็นแต่เพียงความเห็นส่วนตัว