![](https://i.ibb.co/NtrW0bP/1.jpg)
"ประวัติวันลอยกระทง"
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดีย ที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่
เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่า มีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า
เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำ เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ
พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม
ต่อมา ได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์
และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา
(แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดีย
แบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้)
ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง
มีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก
โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม
ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง มาใช้ใส่เทียนประทีป
ดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าว ถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า
"แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์
วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที
ตราบเท่ากัลปาวสาน แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1
จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วย
เพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อย จึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวย
จึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยสืบทอดมาจนปัจจุบัน
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ไปลอยกระทงกันค่ะ
![](https://i.ibb.co/qFsHFNX/1.jpg)
ขอบคุณเจ้าของภาพ