บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล

คำประพันธ์ แยกตามประเภท => กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม => ข้อความที่เริ่มโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤษภาคม, 2567, 10:10:16 AM



หัวข้อ: วันวิสาขปุณณมีบูชา วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ~ ภูวรอินทรฉันท์ ๑๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤษภาคม, 2567, 10:10:16 AM
(https://i.ibb.co/1ZFLVJz/Screenshot-20240411-173733-Chrome.jpg) (https://ibb.co/XXcbBkY)

วันวิสาขปุณณมีบูชา(วันวิสาขบูชา, วันพระพุทธเจ้า) วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗

ภูวรอินทรฉันท์ ๑๖

 ๑.วิสาขะฯเวียนมา มนะย้อน                 บุญคุณะสั่งสอนละทุกขา
โคดมพระพุทธิ์เจ้าสูติมา                         เดือนหกสิสิบห้าศศินขาน
 ๒.เป็นอัศจรรย์เหตุภวสาม                     เกิดแล้วลุโพธิ์ตามนิรวาณ
กำเนิดสิก่อนพุทธ์ศกกาล                       แปดสิบ ณ สวนลุมฯ กบิลฯไคล
 ๓.ทรงโพธิก่อนพุทธ์ศกสี่-                      สิบห้า ณ พฤกษ์ที่"อุรูฯ"ไกล
นิพพาน"กุสีฯ" "สะลา"ไม้                         หนึ่งปีนะก่อนพุทธ์ศกเรือง
 ๔.ครบวัน"วิสาขา"อดิสัย                         คงจัดพิธีใหญ่ริประเทือง
เวียนเทียนซิสามรอบวิเมลือง                   สวดมนต์จะเสริมเรื่องพระพุทธ์คุณ
 ๕.รอบสองพระธรรม์คุณปิติพร่ำ           ชี้ทางประพฤติธรรมพิสุทธิ์ดุลย์
รอบสามพระสังฆ์คุณนยหนุน                 ช่วยคุมแนะใกล้ชิดเจาะประจัญ
 ๖.พุทธ์องค์ผดุงช่วยนฤชน                    ทั่วโลกะท่วมท้นสงบพลัน    
ทรงเป็นประทีปโคมรุจิสันติ์                     เทวามนุษย์สุขตลอดกาล
 ๗.เหตุพุทธองค์จ่อริผนวช                       ครองเรือนจะโชคชวดธุลีขาน
ผู้บวชฉโลกช่วยปณิธาน                          พ้นวัฏฏะสงสารอธิคม
 ๘.ยี่สิบและเก้าปีละประโยชน์                  ทิ้งเมืองเลาะไพรโปรดเลาะอาศรม
ครูบาฯสะสอนสั่งก็นิยม                            ทรงได้สมาฯแปดมิหลุดพ้น
 ๙.ลาครูเสด็จสู่"อุรูฯ"ชี้                           "ถ้ำดงคสิรี"ผจงผล
"ทุกกาฯ"มิบิณฑ์บาตรวปุดล                   ซูบผอม"พระปัญจา"ประชิดแล
 ๑๐.พุทธ์องค์ริเปรียบพิณอุปลักษณ์        พิณตึงก็ต้องจักสะบั้นแน่
พิณหย่อนสิเสียงแปร่งจะมิแท้                 สายพิณลุพอไพเราะแว่วหวาน
 ๑๑.ทุกกาฯจะสุดโต่งมิประสิทธิ์              ทางพ้นสงบจิตสงัดญาณ                                
องค์พุทธะพากเพียรมนซ่าน                     กำหนดประลุทางเจาะสายกลาง
 ๑๒.กลับบิณฑบาตรเพื่อพละคืน             พระปัญจวัคฯรื้นริถากถาง
วันโพธิ"สุชาฯ"นมะวาง                              ข้าวมธุปายาสประณีตรส
 ๑๓.โสตถิยะจัดหญ้าและแวะลาด            ต้นโพธิ์ประทับอาสน์และหมดจด
คืนตรัสผจงมั่นก็ประณต                           ตราบใดมิได้ยลพระธรรมเลิศ
 ๑๔.จะไม่เขยื้อนกาย ฤา ขยับ                  แม้เอ็น,กระดูกกลับทลายเกิด
เลือด,เนื้อสรีร์ร่างจะระเบิด                        จนกว่าลุนิพพานวิเศษล้ำ
 ๑๕.สมาธิ จิตกล้าพิริย์มั่น                         ยามต้นลุ"ปุพฯ"ครันระลึกด่ำ
เห็นย้อนเจาะแจ้งชัดชะตะซ้ำ                    หลายภพดะดาษดื่นเอนกชาติ
 ๑๖.มัชฌิมสิตาทิพย์ "จุตุฯ"ญาณ              เกิดตายพะพานสัตว์ระดื่นดาษ
ปัจฉิม"ปฏิจฯ"ธรรมจตุนาถ                         แล้วสัจธรรมสี่อุบัติมา
 ๑๗.หนึ่ง"ทุกข์"สภาพจิตมิสบาย                ทนยากประลัยกายคุปัญหา
ขัอสอง"สมุทัย"วิเคราะห์มา                         ต้นเหตุซิปัญหาระทมใจ
 ๑๘.ความดับ"นิโรธ"สามจะสกัด                 ทุกขามลานชัดมุแก้ไว  
สี่"มรรค"วิธีดับอนุสัย                                   หมดทุกข์มิเหลือเรื่องอุปาสรรค
 ๑๙.แจ้ง"อาสะฯ"กีเลสนิระไกล                   ตรัส์รู้และสอนไว้เพราะใจภักดิ์
กล่าวนาม"พระสัมมา"บริรักษ์                       ปกปักผู้ประพฤติลุมากมาย
 ๒๐.พระพุทธฯแนะสอนธรรมจิระกาล          สี่สิบและห้านานประมาณกราย
พุทธ์กิจกระทำห้าภรปลาย                            ตอนเช้าเสด็จบิณฑ์เสาะผู้ควร
 ๒๑.ใครมีนิสัยพอประลุธรรม                        ประโยชน์วิเศษล้ำพระคุณหวน
ตอนบ่ายแสดงธรรมกุละม่วน                         ผู้คนนิยมฟังกระทำตาม
 ๒๒.ตอนเย็นจะแจงถ้อยอภิธรรม                   แด่ภิกษุจดจำกะไต่ถาม
เที่ยงคืนวิเคราะห์ธรรมสุจินาม                        เทพเทวะมาเฝ้าสดับฟัง
 ๒๓.เช้ามืดพิเคราะห์อรรถกรุณา                   ผู้ใดเหมาะธรรมาจะสอนสั่ง  
เขาบรรลุธรรมเร็วชวหวัง                               บุญคุณกะหมู่สัตว์ประจักษ์ครัน
 ๒๔.สามเดือนนุก่อนวันปรินิพฯ                     ทรงปลงอะยุพริบสละขันธ์  
ที่เมืองกุสินาฯมหินั้น                                      เป็นเมืองขนาดเล็กเหมาะสมมาก
 ๒๕.ทรงเตือนสติสงฆ์กะยะคล้อย                สูญสิ้นสลายคอยมิเหลือซาก
พุทธ์องค์เสด็จ"ปาฯ"จรจาก                          ถึงสวนมะม่วงของอุบาสก
 ๒๖.จุนทะถวายโภชนหาร                            แล้วทรงประชวรซ่านตลอดศก
โรคบิดประจำองค์มิวิตก                                มุ่งหน้าเสด็จสู่"กุสินาฯ"
 ๒๗.ตรัสกับพระอานนท์จะประทับ                ที่สาละคู่ดับละกายา
สวน"มัลละฯ"ราชารุจิรา                                ทรงแจ้ง"ปรีนิพฯ" ณ คืนเพ็ญ
 ๒๘.นักบวช"สุภัททา"ประลุธรรม                 สุดท้ายพระพุทธนำก็บวชเห็น
ตรัสกับพระอานนท์วจะเด่น                          หลักธรรม,วินัยศาสดาแทน
 ๒๙.แล้วทรงประทับนอนศิระสู่                     ทิศเหนือและเตือนรู้ประมาทแม่น
สังขารปกาติชิระแดน                                    เหล่าภิกขุทำตนมิประมาท
 ๓๐.จากนี้ก็หลับตาและสงบ                         เข้าฌานสมาฯจบนิชีวาตม์  
ทรงถอนกิเลสหมดมรฆาต                            คราวตรัสรู้นั้นชิวิตคง
 ๓๑.ปรีฯจะตายดับเพราะละขันธ์                 ทำกาละสูญพลันมลายองค์
จึงสุญญจากตนนิระวงศ์                               ภพใหม่ บ ก่อเกิดนิรันดร
 ๓๒.วิสาฯจะมี"ไตรฯ"ปกตี                            สามลักษณะชี้ประศาสน์สอน
รู้สัจธรรมโลกริละรอน                                  หมดทุกข์สงบกายระรื่นใจ
 ๓๓.ข้อหนึ่ง"อนิจจัง"จะปลาต                   เปลี่ยนแปลงประจักษ์คลาดมิเที่ยงไซร้
สอง"ทุกขะ"ทนนิ่งขณะไหน                         มักพล่านจะแปรจากสภาพเดิม
 ๓๔.ข้อสาม"อนัตตา"บ่ มิใช่                         ตัวตนจะเปลี่ยนได้ ฤา เพิ่มเสริม
ไม่พึงประสงค์ได้เพราะจะเกริม                    กฎโลกมิมีใครนะขวางทาง
 ๓๕.หลักธรรมประพฤติตนปฏิบัติ                 วิสาฯกตัญฯชัดพระพุทธฯสร้าง
โปรดพุทธมารดาลุสล้าง                               บิดาอร์หันต์พลันคุณาแทน
 ๓๖.ความจริงประเสริฐยิ่งอริยา-                  สัจสี่ตระหนักนะสุขีแสน
ทบทวนสตินึกดุจะแม้น                                 ใจไม่ประมาทเกินทุรนกาย
 ๓๗.พุทธ์องค์ฯคะคล้ายพ่อนฤชน                ชี้ทางละทุกข์ทนลิรอนวาย
ตอบแทนกตัญญูทะนุหลาย                          บำรุงพระศาสน์ให้ยะยงเทอญฯ

แสงประภัสสร


หัวข้อ: Re: วันวิสาขปุณณมีบูชา วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ~ ภูวรอินทรฉันท์ ๑๖
เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 22, พฤษภาคม, 2567, 10:18:48 AM

(ต่อ วันวิสาขะบูชา)

วิสาขะ=วิสาขบูชา คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ถ้าปีใดมีเดือนแปด ๒ หน ก็จะเลื่อนเป็นเดือน ๗ จึงตกอยู่ในช่วง เมย.,พค. หรือ มิย.
โคดมพระพุทธเจ้า= ชื่อของพระพุทธเจ้า
โพธิ์=โพธิ, ความตรัสรู้
นิรวาณ=นิพพาน
พระพุทธเจ้าประสูติ=ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
ในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖  ปีจอ ณ สวนลุมพินี ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ และเทวทหะ ประเทศเนปาล
โพธิ=ตรัสรู้ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี เชัามืด วันพุธ ปีระกา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ใต้ร่มโพธิพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ต. อุรุเวลาเสนานิคม สถานที่นี้จะเรียกพุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา รัฐพิหาร อินเดีย
พระพุทธเจ้าปรินิพพาน=วันอังคาร ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน ของพระเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย
สวนมัลละ=สวนมัลล ของกษัตริย์มัลละ
วัฏฏสงสาร=การเวียนว่ายตายเกิด
อธิคม=การบรรลุ,ความสำร็จ
ครูบาฯ=อาฬารดาบส รามบุตร และ  อุทกดาบส รามโคตร
สมาฯ=สมาบัติแปด, การบรรลุฌานมี ๘ อย่างคือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
อุรูฯ= ต.อุรุเวลาเสนานิคม
ทุกกาฯ= ทุกรกิริยา คือการบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นอดอาหาร ผ่อนกลั้น ลมหายใจเข้าออก
พระปัญจาฯ =พระปัญจวัคคีย์ ที่ร่วมทำนายตอนประสูติว่าจะได้ตรัสรู้ ได้มาช่วยดูแลท่านด้วย ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ  เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกกกิริยา ก็ได้หลีกไป เมื่อพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรด จนได้บรรลุอรหันต์ทั้งสิ้น
อุปลักษณ์= การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
สุชาฯ=นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาส ข้าวที่หุงด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง เมื่อฉันเช้าแล้วทรงนำถาดทองไปลอย ณ แม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานถ้าจะตรัสรู้ขอให้ถาดทองลอยทวนน้ำ ถาดก็ลอยทวนน้ำ
โสตถียะฯ=โสตถิยะพราหมณ์ได้ถวายหญ้าคา ๘ กำมือ  ทรงนำไปปูลาดใต้ต้น อัสสพฤกษ์(ต้นพระศรีมหาโพธิ์)
ปุพฯ=ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, คือญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
จุตุ=จุตุปปตญาณ,รู้การตายเกิดของสัตว์ทั้งปวง อีกนัยหนึ่งเรียกทิพยจักษุญาณคือตาทิพย์
ปฏิจฯ=ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลของกันและกันเหมือนกับลูกโซ่ จนได้รู้อริยสัจธรรม ๔ ประการคือ ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค
จตุนาถ=ที่พึ่ง ๔ อย่าง คือสัจธรรม ๔
ทุกข์=สภาวะที่ทนได้ยาก ไม่สบายกายใจ(ปัญหา)
สมุทัย=สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์(สาเหตุของปัญหา)
นิโรธ=ความดับไปซึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์(จุดมุ่งหมายใ
นการแก้หนทางที่จะดับทุกข์ได้(วิธีการแก้ปัญหา)
อนุสัย=กิเลสที่แฝงตัวสงบนิ่งอยู่ในสันดาน
อาสะฯ=อาสวักขญาณ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมทำให้อาสวะทั้งหลายสิ้นไป,ความตรัสรู้
อาสะกีเลส=อาสวะกิเลส ที่หมักดองในจิต,หมักหมมนอนทับถมอยู่ในจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง มี ๔ อย่าง คือ ๑) กาม ความติดใจรักใคร่ในกามคุณ ๒) ภพ ความติดอยู่ในภพ อยากเป็นโน่นนี่ ๓)ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความหัวดื้อ หัวรั้น ๔)อวิชา ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมัวเมา
พระสัมมาฯ=สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขันธ์=ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
มหิ=แผ่นดิน
ปาฯ=เมืองปาวา สถานที่เสด็จถึงสวนมะม่วง ของนาย จุนทะ เพื่อรับอาหาร บิณฑบาตร เสวยสุกรมัททวะ แล้วประชวรด้วยโรคปักขันธิกา(โรคบิด,การถ่ายด้วยลงพระโลหิต) ทรงอาพาธอย่างแรงกล้าจวบจนสิ้นพระชนม์
กะยะ=กาย
โรคบิด=ปักขันทิกาพาธ(ถ่ายเป็นโลหิต)
หลักธรรม และวินัย =จะเป็นศาสดาแทนเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
สมาฯ=สมาบัติแปด
ปรี,ปริฯ=ปรินิพพาน, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือคือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต
สุญตา,สุญญตา=ความว่าง,ความเป็นสภาพสูญ
ปรี=ปรินิพพาน
วิสา=วิสาขะ
ปกตี=ปกติ
ไตรฯ=ไตรลักษณ์,เป็นธรรมที่ทำให้เป็นอริยะ แปลว่าลักษณะ ๓ ประการ หมายถึงกฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง ได้แก่ ๑) อนิจจ์ฯ=อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ๒)ทุกขะ=ทุกขลักษณะ ลักษณทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบค้ำด้วยอำนาจของธรรมชาติ ทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ต่อไป ๓)อนัตต=อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่นไม่สามารถบังคับชีวิตให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้

(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)