หัวข้อ: ประเภทของกรรม ๑๖: กัมมจตุกะ ~ กลอนกลบท รามสูรขว้างขวาน เริ่มหัวข้อโดย: แสงประภัสสร ที่ 21, กันยายน, 2566, 12:51:02 PM (http://)
(https://i.ibb.co/Jjxf4ts/Screenshot-20230816-132846-Chrome.jpg) (https://ibb.co/RThxmbD) ประเภทของกรรม ๑๖: กัมมจตุกะ ☆"กรรม"คือการ ทำตน พาตนช่วย ทำการด้วย จิตใจ กายใจสม ทำดีเรียก"กรรมดี" ใครดีชม "กรรมชั่ว"ตรม ตรงข้าม เพราะข้ามเกณฑ์ ☆แจกกรรมตาม "เวลา" ผลลาล่วง มีสี่ช่วง ต้องเกิด บังเกิดเห็น กรรมให้ผล เรียงราย ตามรายเป็น ไม่ลัดเว้น ยื้อแย่ง แก่งแย่งกัน ☆หนึ่งให้ผล"ภพนี้" โลกนี้คง ชีพดำรง ทุกข์สุข หวังสุขสันต์ สอง"ภพหน้า" ถัดไป พาไปพลัน ดีทุกวัน จะรื่น ระรื่นใจ ☆สาม"ภพต่อ ต่อไป" ผ่านไปแล้ว ทำดีแคล้ว สิ้นทุกข์ หมดทุกข์ขัย ข้อสี่"อโหสิกรรม" สิไกล จะหยุดได้ จองเวร หมดเวรลง ☆กรรมแยกตาม "หน้าที่" สิ่งที่ทำ สี่ข้อนำ สัตว์ภพ สู่ภพสงค์ ระดับกรรม แตกต่าง ทำต่างตรง แหล่งเกิดบ่ง ต่างที่ แดนที่มา ☆"ชนกกรรม"หนึ่ง,เกิด แต่งเกิดร่าง ตัวนำทาง สู่ภพ เลือกภพหนา สอง"ซ้ำเติมหรือช่วย" ดลช่วยพา เสริมต่อมา หลังเกิด บังเกิดกาย ☆ข้อสาม"กรรมเบียดเบียน"เฝ้าเบียนตาม กรรมตรงข้าม อ่อนแรง เปลี้ยแรงหลาย ข้อสี่"กรรมตัดรอน" จะรอนคลาย ทุกกรรมวาย สิ้นชีพ หมดชีพราน ☆กรรมแจง"ลำดับผล" ให้ผลแรง ยักเยื้องแซง ช้า,เร็ว ก็เร็วผลาญ มีสี่อย่าง จะกล่าว ว่ากล่าวกาล ชาติสองพาน เริ่มต้น เป็นต้นไป ☆ข้อหนึ่ง"ครุกรรม" เป็นกรรมหนัก บาปประจักษ์ ที่สุด แจงสุดไหว ให้ผลก่อน กรรมอื่น ก่อนอื่นใด นรกไซร้ สู่ภูมิ เกิดภูมิตรม ☆สมาบัติแปดฌาน ลุฌานแล้ว พรหม์โลกแน่ว เลิศสรวง เกินสรวงสม ฆาตพ่อแม่ มีโทษ ถูกโทษจม นรกงม อเวจี และจีรัง ☆ข้อสอง"กรรมใกล้ตาย" ก่อนตายทำ กรรมใหม่จำ ผลตาม ไปตามผัง ครุกรรม ไม่ทำ หยุดทำฟัง กรรมนี้สั่งได้ผล ส่งผลพลัน ☆สาม"อาจิณกรรม"ทำ ได้ทำนิตย์ จะสัมฤทธิ์ ต่อไป ส่งไปสรร ทำกุศล ลุสรวง สู่สรวงครัน ทำเลวหวั่น นรก โทษรกคอย ☆สี่,"กรรมอย่างอื่น" เว้น ข้อเว้นตาม กล่าวแล้วสาม กรรมนี้ โทษนี้ถอย ไม่ตั้งใจ ไม่แรง เหลือแรงปรอย ชาติสามพลอย ได้เพริศ อย่างเพริศพราว ☆ถ้าไม่มี กรรมอื่น แต่อื่นใด กรรมนี้ให้ บังเกิด ก่อเกิดฉาว ทำดี สุคติ กิตติวาว ทำเลวคาว แย่แน่ แท้แน่นอน ☆จำแนกกรรม สี่แบบ เป็นแบบอย่าง ไปภพต่าง เพราะกรรม หลากกรรมถอน ทำความเลว ไปภพ ต่ำภพทอน ทำดีจร ภูมิรื่น อันรื่นรมย์ ☆"อบายภูมิ"ภพที่ แบบที่หนึ่ง ของผู้ซึ่ง ทำชั่ว กายชั่วถม ทั้งวาจา และใจ พร้อมใจกรม ฝักใฝ่ซม ความเลว ที่เลวลน ☆"สุคติภูมิ" สองซึ่งสองนี้ ของคนดี ที่ใจ กายใจผล แหล่งเกิดเทวดา ประดาดล รวมคนบน โลกนี้ เช่นนี้เอย ☆"รูป์พรหม" สาม,แหล่งเกิด เหตุเกิดจาก สมาธิ์มาก ได้ฌาน องค์ฌานเผย อัปปนาฌานนี้ จิตนี้เคย ใสนิ่งเลย เลิศยิ่ง ฌานยิ่งนาน ☆สี่,"อรูปพรหม" ชั้นพรหมนี้ รับผู้ที่ ละทุกข์ สุข,ทุกข์หาญ อรูปฌานพึงได้พึงชาญ สงบปาน น้ำนิ่ง จิตนิ่งเนา ☆จะนิพพาน มรรคญาน เกิดญานได้ ตัณหาไซร้ ตัดธาตุ หมดธาตุเผา อวิชชา ดับสูญ ก็สูญเงา วัฏฏะเศร้า หนีพ้น ไกลพ้นเทอญฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา พระอภิธรรม ปริเฉทที่ ๕ เล่ม ๒ กัมมจตุกะ,กรรม ๑๖=แบ่งกรรมออกเป็น ๔ หมวดๆละ๔ รวม ๑๖ คือ ๑.ปากกาลจตุกกะ(ว่าด้วยเวลาแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ ๑.๑ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือกรรมที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน ๑.๒ อุปปัชชเวทนียกรรม จะให้ผลในชาติที่สอง ๑.๓ อปราปริยเวทนียกรรม จะให้ผลในชาติที่สามเป็นต้นไปจนกว่าจะถึงนิพพาน ๑.๔ อโหสิกรรม คือกรรมที่ไม่ให้ผล ๒.กิจจตุกกะ (กรรมที่ว่าด้วยหน้าที่) มี ๔ คือ ๒.๑ ชนกกรรม กรมที่ทำให้วิบากเกิดขึ้น ๒.๒ อุปัตถัมภกกรรม คือกรรมที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่น ๒.๓ อุปปีฬกกรรม คือกรรมที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ ๒.๔ อุปฆาตกรรม คือกรรมที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ หรือตัดรอนผลของกรรมอื่นๆ ๓.ปากทานปริยายจตุกกะ(ว่าด้วยลำดับการให้ผล) มี ๔ คือ ๓.๑ ครุกรรม คือกรรมอย่างหนักที่กรรมอื่นๆไม่สามารถห้ามได้ ๓.๒ อาสันนกรรม คือกรรมที่ทำไว้ เมื่อใกล้จะตาย ๓.๓ อาจิณกรรม คือกรรมที่ทำไว้เสมอๆ ๓.๔ กฏัตตากรรม คือกรรมที่ทำไว้พอประมาณไม่เท่าถึงกรรมทั้งสาม หรือเป็นกรรมที่ทำไว้ในอดีตชาติ ๔.ปากัฏฐานจตุกกกะ (ว่าด้วยฐานะแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ ๔.๑ อกุศลกรรม คือกรรมที่ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน ๔.๒ กามาวจรกุศลกรรม คือกรรมที่ให้ผลนำไปเกิดในสุคติภูมิ ๗ ได้แก่ มนุษย์ และสวรรค์อีก ๖ ชั้น ๔.๓ รูปาวจรกุศลกรรม คือกรรมที่ให้ผลนำไปเกิดในรูปพรหม ๑๖ ชั้น ๔.๔ อรูปวจรกุศลกรรม คือ กรรมที่ให้ผลนำไปเกิดใน รูปพรหม ๔ ชั้น ชนกกรรม=กรรมเป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด กรรมซ้ำเติมหรือช่วย=อุปัตถัมภกรรม มีหน้าที่ค้ำชูกรรมอื่นของสัตว์ที่เกิดแล้วให้ได้รับทุกข์หรือสุขให้มีพลังมากขึ้น นรกภูมิ=เป็นภูมิที่ลงโทษผู้ทำบาป อเวจีนรก=เป็นนรกที่ต่ำสุดใน ๘ ชั้น สำหรับผู้ฆ่าพ่อแม่ ครุกรรม=กรรมที่หนัก ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม ทางกุศล คือผู้ทำความดีจนบรรลุอรหันต์ ทางอกุศล กรรมที่หนักคือ ฆ่าพ่อแม่ ทำสงฆ์ให้แตกแยก เป็นต้น มรรคญาณ=จะเกิดขึ้นเมื่อถึงพระนิพพาน เป็นธรรม ที่สงบ จากสังขารธรรมทั้งปวง ธาตุ=ร่างกายคนมี ๖ ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ (จิต) มาประกอบเป็นร่างกายให้คงอยู่ได้ อวิชชา=ความไมรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ (ขอบคุณเจ้าของภาพจากอินเทอร์เน๊ต) |